ของเล่นเสริมพัฒนาการ ช่วยฝึกอย่างสมวัย ต้องเลือกอย่างไร

พัฒนาของลูกน้อยตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 3 เดือนถือว่าเป็นช่วงวัยที่เหมาะแก่การเรียนรู้เพราะในช่วงวัยนี้เด็กจะมีการเจริญเติบโตทางระบบประสาทต่างๆได้เป็นอย่างดีดังนั้นช่วงที่กำลังมีการเปลี่ยนแปลงต่างๆในวัยนี้ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ควรจะหันมาให้ความใส่ใจและดูแลกันเป็นพิเศษซึ่งในวันนี้เราจะไปดูกันตั้งแต่การพัฒนาการของลูกน้อย  ตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไปจนถึงขวบปีแรกว่าของเล่นเสริมพัฒนาการ ในช่วงนี้จะมีอะไรบ้าง  พัฒนาการของลูกน้อย ในช่วงปีแรกให้คุณพ่อคุณแม่สังเกตง่ายๆ ของเล่นเสริมพัฒนาการ ที่เหมาะที่สุดจะเป็นของเล่นที่ช่วยฝึกกล้ามเนื้อมัดใหญ่มัดเล็ก เช่นของเล่นสีสดรูปทรงต่างๆอาจจะมีเสียงดนตรีเมื่อเขย่าหรือเมื่อจับสัมผัสโดยเริ่มจากการเรียนสภาพแวดล้อมในห้องให้เหมาะสมซึ่งในช่วงขวบปีแรกนี้อาจจะต้องจำกัดพื้นที่และบริเวณเตรียมพื้นที่สำหรับคืบคลานและพลิกตัวไปมาได้อย่างปลอดภัยไม่บาดเจ็บและไม่มีสิ่งกีดขวางที่เป็นอันตรายรวมไปถึงพื้นผิวจะต้องไม่แข็งเกินไป การเสริมพัฒนาการลูกอีกอย่างคือในช่วงเวลาหลังจากที่ลูกกินอิ่มนอนหลับสบายตัวไปแล้วคุณพ่อคุณแม่สามารถเล่นกับลูกได้โดยใช้ของเล่นสีสันสดใสหรือสีตัดกันเช่นสีขาวสีดำสีแดงสีม่วงสีเขียวของเล่นที่มีลวดลายหรือผิวสัมผัสที่แตกต่างกันใช้แขวนหรือขยับไปมาโดยยืนห่างจากหน้าลูกประมาณ 1 ฟุตเพื่อช่วยให้เขามองตามและเกิดความพยายามที่จะชูคอหรือผงกหัวขึ้นเพื่อเป็นการให้เขาได้ขยับกล้ามเนื้อมัดต่างๆของร่างกายขยับแขนยื่นมือหรือใช้นิ้วเพื่อที่จะจับสัมผัสของเล่นเหล่านั้น ในช่วงวัยแรกเกิดของเล่นเสริมพัฒนาการ ที่ถือว่าดีที่สุด คือการที่คุณพ่อคุณแม่เองจะต้องฝึก ให้ลูกได้เล่นกับของเล่นในลักษณะที่หลากหลาย เช่นนอนคว่ำนอนหงายอุ้มนั่งหรือหุ้มพาดบ่าในขณะที่คุณพ่อคุณแม่สามารถเคลื่อนย้ายวัตถุที่มีสีสันสดใสนั้นไปในทิศทางต่างๆได้อย่างช้าๆทารกก็จะพยายามมองตามการเคลื่อนไหวสิ่งที่เด็กจะได้ในช่วงวัยนี้คือการฝึกการควบคุมประสานงานของสายตาและเรียนรู้เรื่องรูปทรงและสีสันต่างๆจนกระทั่งในช่วงวัยที่ทารกเริ่มนั่งได้เองแล้วจึงปล่อยให้เล่นและสัมผัสสิ่งของที่เป็นของเล่นเหล่านั้นด้วยตัวเองเพื่อเสริมพัฒนาการทางด้านการเรียนรู้ให้มากขึ้นไปอีกขั้น สิ่งที่สำคัญที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ควรจะต้องรู้และให้ความสำคัญมากๆคือไม่ควรที่จะกระตุ้นลูกด้วยสิ่งเร้าหลายๆอย่างพร้อมกันเพราะมันจะทำให้ลูกสับสนเสียสมาธินอกจากจะไม่ส่งผลดีต่อการเรียนรู้แล้วยังจะเป็นการกระตุ้นให้เกิดสมาธิสั้นในเด็กโดยที่เราไม่รู้ตัวได้อีกด้วย